ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ พลังงานสะอาด ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ พลังงานสะอาด ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โลกของเราร้อนขึเนทุกวัน พลังงานก็เริ่มหมดไปตามกาลเวลา ดังนั้นการที่พลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพคือสิ่งสำคัญที่จะมาช่วยโลกของเราให้ยังอยู่ต่อไปได้อย่างยังยืน ซึ่งปัจจุบันเราได้มี ส่วนหนึ่งของ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ “ลัดดิงตัน” (Ludington) ตั้งอยู่ที่ยอดผาเหนือทะเลสาบมิชิแกน มีลักษณะคล้ายกับสระว่ายน้ำขนาดมหึมา โดยเทคโนลียีนี้มาจากแนวคิดที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งก็คือ การสูบน้ำจากทะเลสาบด้านล่าง กลับขึ้นไปที่อ่างเก็บน้ำด้านบน ก่อนจะปล่อยน้ำให้ไหลผ่านกังหันขนาดใหญ่ที่ด้านล่าง

และด้วยความจุของน้ำในทะเลสาบแห่งนี้ โรงงาน “ลัดดิงตัน” จึงมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพื่อแจกจ่ายให้ 1.6 ล้านครัวเรือนเพื่อใช้งานได้อย่างสบายๆ หลายคนเปรียบโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับว่าเป็น “แบตเตอรีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” เนื่องจากความสามารถในการผลิตพลังงานได้มหาศาลนั่นเอง

นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังถูกมองว่า เป็นคำตอบด้านพลังงานที่สำคัญในช่วงที่มีความพยายามเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียน ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีปริมาณแสงแดดหรือแรงลมที่จำกัด เอริค กัสตัด (Eric Gustad) ผู้จัดการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัท Consumer Energy กล่าวว่า “ผมหวังว่า เราจะสร้างระบบนี้ให้ได้อีก 10 แห่ง”

อย่างไรก็ดี บริษัทยังไม่มีแผนที่จะขยายระบบดังกล่าวไปยังพื้นที่เมืองแจ็คสัน รัฐมิชิแกน หลังจากประเด็นเรื่องอุปสรรคด้านสิ่งแวดล้อมและโลจิสติกส์ รวมต้นทุนการลงทุนที่คาดว่า น่าจะสูงถึงระดับหลายพันล้านส่งผลให้บริษัท Consumer Energy ตัดสินใจขายที่ดินใกล้ๆ ทะเลสาบที่เดิมวางแผนจะใช้เป็นที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ และหันมาปรับปรุงอัพเกรดโรงงานที่ร่วมเป็นเจ้าของกับบริษัท DTE Energy และมีการดำเนินงานอยู่แล้ว

กัสตัด ยอมรับว่า แผนการสร้างโรงงานแห่งใหม่นั้น “ไม่สมเหตุสมผลในแง่การเงิน” และว่า “ถ้าหากไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาลของรัฐหรือรัฐบาลกลาง คงไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นโรงงานใหม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้" พลังงานไฟฟ้าสำรอง จากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับในประเทศสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93 โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น แต่การเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวยังก้าวตามไม่ทัน

ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับทั้งหมด 43 แห่ง และมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมแล้ว 22 กิกะวัตต์ ซึ่งเป็นปริมาณเดียวกับที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งในประเทศผลิตได้ ถึงกระนั้น นับตั้งแต่ปี 1995 มา มีการสร้างโรงงานแบบนี้ที่มีขนาดเล็กเพิ่มมาเพียง 1 แห่งเท่านั้น และในเวลานี้ ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า ในบรรดาโครงการโรงไฟฟ้าแบบนี้ที่มีการวางแผนไว้กว่า 90 แห่งนั้น มีกี่แห่งสามารถก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ โลจิสติกส์ และกฎระเบียบด้านกำกับดูแลกิจการได้จริง

ภาพตัวอย่างเขื่อนพลังงานน้ำสูบกลับในประเทศไทย

รายงานข่าวระบุว่า คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการด้านพลังงานสหรัฐฯ (Federal Energy Regulatory Commission - FERC) ได้ออกใบอนุญาตให้ 3 โครงการไปแล้ว แต่ปรากฏว่า ยังไม่มีโครงการใดที่ลงมือก่อสร้างจริง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งในรัฐมอนแทนาที่ได้รับใบอนุญาตไปตั้งแต่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ต้องจัดหาน้ำ-ไฟ รวมทั้งพื้นที่กักเก็บพลังงานให้ตัวเองก่อนที่จะเริ่มต้นการก่อสร้างได้จริง ขณะที่ ผู้พัฒนาโครงการอีกรายในรัฐออริกอนคาดว่า จะเริ่มต้นการก่อสร้างในปี 2023 นี้ แต่เมื่อลองมองไปดูที่ประเทศอื่นๆ จะพบว่า กำลังมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับมากกว่า 60 แห่งในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศยุโรป

มัลคอล์ม วูล์ฟ (Malcolm Woolf) ประธานสมาคม National Hydropower Association ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในสหรัฐฯ ระหว่างเข้าร่วมการให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของวุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า “กระบวนการขออนุญาตเป็นเรื่องที่วุ่นวายยุ่งยาก” โดยเขาชี้ว่า ขั้นตอนต่างๆ มีการเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงานมากจนเกินไป ในประเด็นนี้ เซเลสต์ มิลเลอร์ (Celeste Miller) โฆษกของ FERC เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่า ทางคณะกรรมการจะออกใบอนุญาตให้กับโรงงานใหม่และต่ออายุให้กับโรงงานที่เคยได้ไปแล้วหลายแห่ง หน่วยงานทั้งในระดับชุมชน รัฐ และรัฐบาลกลางที่เกี่ยวข้องยังต้องเข้ามาจัดการในส่วนงานของตนด้วย เพราะ “แต่ละโครงการมีลักษณะเฉพาะ รวมถึงปัญหาที่แตกต่างกันออกไป”

ขณะนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดังกล่าวกำลังทำการเคลื่อนไหวเพื่อขอให้รัฐออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนในรูปของภาษีการลงทุน คล้ายๆ กับที่เคยอนุมัติให้กับโรงงานไฟฟ้าพลังงานโซล่าเซลล์ ผ่าน แผงโซล่าเซลล์ หรือระบบ โซล่ารูฟท็อป และพลังงานลม ซึ่งจริงๆ การลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจดังกล่าวอยู่ในแผน “Build Back Better” ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน อยู่แล้ว เพียงแต่ร่างกฎหมายนี้ยังคงอยู่ในกระบวนการพิจารณาของสภาคองเกรสอยู่

ทั้งนี้ แนวคิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1930 โดยส่วนมากถูกสร้างขึ้นจริงหลังจากนั้นเป็นเวลาหลายสิบปี เพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากโรงงานนิวเคลียร์ที่จะถูกปล่อยออกมาเมื่อจำเป็น ในขณะที่โรงไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลมกลับไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น การกักเก็บพลังงานสำรองจึงยังเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและน่าจะมีการขยายตัวได้ต่อไปในอนาคต โดยหน่วยงานด้านพลังงานหมุนเวียนอย่าง National Renewable Energy Laboratory (NREL) คาดว่า การกักเก็บพลังงานในสหรัฐฯ มีโอกาสที่จะขยายตัวมากถึง 5 เท่า ภายในปี 2050

ในปีที่ผ่านมา เจนนิเฟอร์ แกรนโฮล์ม (Jennifer Granholm) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ กล่าวไว้ว่า “ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า (รัฐบาล)จะนำพลังงานสะอาดเข้าสู่โครงค่ายผลิตพลังงานไฟฟ้า และเราจะต้องอยู่ในระดับที่สามารถใช้งานพลังงานนี้ทุกที่และทุกเวลาที่ต้องการได้”

ข้อมูลการวิเคราะห์ของมหาวิทยาลัย Australian National University ที่ใช้คอมพิวเตอร์คำนวนหาพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ แสดงให้เห็นว่า มีพื้นที่กว่า 600,000 แห่งทั่วโลกที่น่าจะเป็นที่ตั้งของโรงงานประเภทนี้ได้ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมถึงราว 32,000 จุด ซึ่งการคำนวณชี้ว่า จะสามารถช่วยกักเก็บพลังงานเพื่อแจกจ่ายทั่วโลกได้มากถึง 100 เท่า เมื่อเทียบกำลังระดับความต้องการพลังงานจริง

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวไม่ได้พิจารณาถึงประเด็นที่ว่า พื้นที่นั้นๆ มีความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมหรือวัฒนธรรมที่จะใช้ในการก่อสร้างโครงการประเภทนี้ หรือจะนำไปสู่การคุ้มทุนทางธุรกิจหรือไม่ มีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งจาก มหาวิทยาลัย Michigan Technological University ที่ชี้ว่า เหมืองร้างจำนวนหลายร้อยแห่งในสหรัฐฯ น่าจะสามารถถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่ว่านี้ได้ เนื่องจากโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย แต่มีผู้ที่แย้งว่า ต้องมีการศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน เพราะมีกรณีอย่างเช่น โครงการที่อยู่ในี่เขตเอสเซกส์ของรัฐนิวยอ์กที่ต้องถูกสั่งพักไป หลังเกิดความกังวลเรื่องมลพิษทางน้ำ

นอกจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่เป็นการกักเก็บพลังงานแล้ว ยังมีเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น บริษัท Quidnet ในรัฐเท็กซัส ที่พัฒนาระบบกักเก็บพลังงานแบบสูบน้ำกลับ ที่ใช้น้ำบาดาลมาไหลผ่านกังหันไฟฟ้า และบริษัท Energy Vault ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพจากประเทศสวิสเซอร์เลนด์ ที่ผลิตพลังงานโดยการใช้สายเคเบิลเหวี่ยงก้อนอิฐที่มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 35 ตันลงสู่ด้านล่าง เพื่อทำหน้าที่เหมือนเครื่องปั่นไฟ เป็นต้น ท้ายสุด รายงานจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2016 ชี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะมีเครือข่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ที่สามารถจัดเก็บพลังงานได้ราว 36 กิกะวัตต์

CR. egat.co.th

รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร

Enrich Energy ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ

สนใจ โซล่ารูฟท็อป สามารถติดต่อเราได้ที่ 065-845-8698

ต้องการทราบรายละเอียดการติดตั้งระบบ โซล่ารูฟท็อป คลิก https://bit.ly/solarrich

https://www.enrichenergy.co.th/โซล่ารูฟท็อป/

https://www.enrichenergy.co.th/โซล่าเซลล์/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์

  โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ ศูนย์รวม โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ จากแบรนด์ RICH   รับประกันสินค้า 1 ปี ความรู้ในการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ให้มีประสิทธิภาพ 1.ควรติดตั้งแผงโซล่าหันไปทางทิศใต้ โดยเอียงแผง 8-10 องศา เพื่อรับแสงแดดได้เต็มที่ ลูกค้าสามารถเข้าไปอ่านความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ แผงโซล่าเซลล์ ควรหันไปทางทิศใด 2.ควรติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในพื้นที่โล่ง กว้าง ที่ไม่มีเงาต้นไม้ หรือเงาอาคารบังโดยเด็ดขาด เพราะความสว่างและประสิทธิภาพของตัว โคมโซล่าเซลล์ แปรผันตรงตามแสงแดดที่ได้รับในแต่ละวัน โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ แบบที่มีระบบแบตเตอรี่แยก มีสปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ ระยะหลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ราคาสินค้าที่ลดลง ทำให้สามารถซื้อใช้งานในบ้านเรือนได้ ประสิทธิภาพของสินค้าเริ่มเสถียรขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสะดวกสบายในการเลือกใช้งาน ปัจจุบันเกรดสินค้าที่ใช้งานในตลาดแบ่งหลักๆ เป็น 2 ชนิด คือ 1. แบบ แผงโซล่าเซลล์ เล็ก แบตเตอรี่เป็นถ่านชาร์ต จุไฟน้อย กับ 2. แบบแผงโซล่าเซลล์ใหญ่ ใช้แบตเตอรี่เป็นลูก ชนิดเดียวกั...

แอปพลิเคชั่น นำทาง Waze แอปดี แต่คนไทยไม่ค่อยใช้

   แอปพลิเคชั่น นำทาง Waze แอปดี แต่คนไทยไม่ค่อยใช้ หลายๆคน เวลาจะเดินทางไปไหนต่อไหน ก็คงรู้จักแต่ Google Maps แต่นี่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดหรือไม่ แอปพลิเคชั่น การนำทางอื่นๆ ยังมีให้เลือกอีกเยอะนะครับ เช่น Waze เป็นแอปที่เน้นชุมชนมากกว่าและมีผู้ใช้มากกว่า 140 ล้านคนนับตั้งแต่เปิดตัว ผู้ใช้ทำหน้าที่เป็นตาและหูบนท้องถนนเพื่อให้สถานการณ์การจราจรในปัจจุบัน มีตัวเลือกมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนในการใช้เส้นทางที่ผิดและรถติด ซึ่งแอปนี้จะช่วยให้คุณประหยัดน้ำมัน นี่คือทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ Waze และเหตุใดคุณจึงควรพิจารณาใช้ Waze เดี๋ยวจะพาไปดูกันว่า Waze ดียังไง Waze เป็นแอปพลิเคชั่นการนำทางแบบโต้ตอบฟรีสำหรับทั้ง Android และ iOS ใช้ข้อมูลที่มาจากชุมชนเพื่อส่งรายงานการเข้าชมแบบเรียลไทม์แก่ผู้ใช้ ซึ่งมีประโยชย์มาก ถ้าคนไทยประเทศไทย ร่วมกันใช้จะทำให้แอปพลิเคชั่น มีความเสถียรมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศมาเลเซีย และ สิงคโปร์ ประชากรของเขาใช้ Waze กันแทบจะ 90% เมื่อเทียบกับ Google Map ขนาด Grab ยังผูกกับ Waze ข้ามไปยังส่วนสำคัญ Waze คืออะไรและทำงานอย่างไร Waze เปิดตัวครั้งแรกในปี 255...

หมู่บ้าน โซล่าเซลล์ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย Powerwalls by Tesla

   หมู่บ้าน โซล่าเซลล์ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย Powerwalls by Tesla หมู่บ้านเทสลา แห่งใหม่ได้เปิดตัวในลาสเวกัสพร้อมกับ Tesla Powerwalls และพลังงานแสงอาทิตย์จาก  โซล่ารูฟท็อป  ในบ้านทุกหลัง Tesla ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้มีจำนวนบ้านอยู่ที่ ราวๆ 12,000 หลังคาเรือน (Tesla Neighborhood)เป็นคำที่ใช้เรียกชุมชนที่บ้านทุกหลังในย่านนั้นใช้พลังงานจากธรรมชาติ หรือพลังงานจากอุปกรณ์เทสลา โดยมีชุดแบตเตอรี่ Powerwalls ในการช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้งานภายในครัวเรือน โครงการหมู่บ้านเทสลาที่ได้รับการพูดถึงและถูกหยิบยกเป็นตัวอย่าง คือ โครงการพัฒนาขนาดยักษ์แห่งใหม่ในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท บรูคฟิลด์ แอสเซท แมนเนสเมน (Brookfield Asset Management) และ Dacra ซึ่งมีการสร้างบ้านใหม่ถึง 12,000 หลัง โดยได้มีติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Tesla Powerwall เพื่อนำไปใช้งานในครัวเรือน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือโครงการพัฒนาขนาดยักษ์แห่งใหม่ในออสติน รัฐเท็กซัส โดยบริษัท Brookfield Asset Management และ Dacra ซึ่งมีการสร้างบ้านใหม่มากถึง 12,000 หลั...