ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปรากฏการณ์ PID คืออะไร มีผลอะไรกับ โซล่าเซลล์

 

ปรากฏการณ์ PID คืออะไร มีผลอะไรกับ โซล่าเซลล์

เห็นแล้วหลายๆคนคงสงสัยว่ามันคืออะไร ปรากฏการณ์ PID ส่งผลดี หรือ ผลเสียการ แผงโซล่าเซลล์ หรือระบบโซล่ารูฟท็อปของเราอย่างไรบ้าง สำหรับใครที่เลือกติดตั้ง โซล่ารูฟท็อป กับ Enrich Energy ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นกับวงจรที่ไม่ได้มาตรฐานเท่านั้นครับ

Potential induced degradation หรือ PID นั้นเป็นปรากฏการอย่างหนึ่งที่เกิดจากการที่ตัวเซลล์แสงอาทิตย์ (Cell) ที่อยู่ใกล้กับโครง (Frame) ทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างเซลล์แสงอาทิตย์ กระจก และโครง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของประจุ โดยปกติแล้วบริเวณแผ่นแก้วที่ทำหน้าที่ปกป้องแผงเซลล์แบบมาตรฐานนั้นจะมีประจุของโซเดียมที่ต่ำ

ซึ่งสามารถเร่ร่อนเดินทางไปได้ในหลายทิศทาง ซึ่งเกิดจากการดึงดูดของประจุลบและบวก ระหว่างวัสดุ กรณีที่เกิดความต่างศักย์เกิดขึ้นระหว่างเซลล์และกระจก จะส่งผลทำให้ไอออนของโซเดียม (ขี้เกลือ) ถูกผลักเข้าไปแทรกซึมในผิวเซลล์แสงอาทิตย์และส่งผลทำให้เซลล์ถูกทำลายในที่สุด ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผงต่ำลง และยิ่งสะสมไปนานๆ ก็จะทำให้เสื่อมได้ไวกว่าระยะเวลาการรับประกัน (เกิดการออกซิเดชั่นและรีดักชั่น) ประจุของโซเดียมนั้นจะสามารถเคลื่อนไหวได้ดีก็เพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ระบบกราวด์ที่ต่อเข้ากับแผงโซล่าเซลล์

ซึ่งในประเทศอเมริกาจะนิยมต่อลักษณะ Negative to Ground แต่ทางยุโรปจะเป็น Unground ทำให้ในอเมริกาไม่พบปัญหานี้ เพราะว่าการต่อกราวด์นั้นสามารถดึงโซเดียมออกจากเซลล์ที่ออกจากแผงโซล่าเซลล์ไปยังโครงของ แผงโซล่าเซลล์ ทำให้สามารถแก้ปัญหาการทำลายของแผงโซล่าเซลล์ได้ ซึ่งจะพบในอินเวอร์เตอร์ที่มีหม้อแปลง การปรากฏปัญหาเรื่อง PID นั้นเริ่มมาจากทางยุโรปเพราะการติดตั้งนั้นไม่ได้มีมาตรฐานในเรื่องระบบกราวด์ ทำให้การเสื่อมสภาพของแผงเร็วกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากเทคโนโลยีของอินเวอร์เตอร์แบบ Transformerless ในสมัยนั้นได้รับความนิยมอย่างมากเพราะราคาถูกและประสิทธิภาพสูง แต่ผู้ใช้งานบางรายได้ทำการทดสอบปัญหาเรื่อง PID ก่อนการติดตั้ง ถ้าหากเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวก็จะไม่เลือกใช้ อินเวอร์เตอร์ แบบ Transformerless กับแผงโซล่าเซลล์รุ่นนั้นๆ ซึ่งต่อมาทำให้เกิดการแข่งขันประสิทธิภาพในตลาด นั้นคือ PID-Free Solution ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาในแง่ของคุณภาพทั้งเรื่องของแผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ช่วยอื่นๆ เช่น PV-off set box

ซึ่งหากเทียบแผงโซล่าเซลล์คือแบตเตอรี่แล้ว ลองจินตนาการว่าการเกิด PID มันก็คล้ายๆ การที่ใช้แบตเตอรี่ไปนานๆ แล้วเกิดขี้เกลือตรงขั้วแบตเตอรี่นั้นเอง ในส่วนของการป้องกันก็คือการเปลี่ยน Material ตรงวัสดุห่อหุ้มเซลล์ ซึ่งอยู่ระหว่างกระจกกับเซลล์ ก็สามารถแก้ไขได้ เมื่อไอออนของโซเดียมเข้ามาหาเซลล์ วัสดุห่อที่หุ้มเซลล์ไว้ก็จะโดนผลักออกไป ทำให้สามารถป้องกันหรือลดปัญหา PID ได้ระดับนึง

อย่างไรก็ตามเรื่องปัจจัยของ PID ก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ทางผู้ใช้งานสนใจมากนัก เพราะว่าหากต้องการจะแก้ปัญหานี้จำเป็นต้องเพิ่มต้นทุนในการติดตั้งเข้าไปอีก แต่ก็ยังมีผู้ใช้งานบางรายที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะผู้ใช้งานที่ทำระบบโซล่าฟาร์มหรือระบบโซล่ารูฟท็อปซึ่งนอกจากปัจจัยเรื่องการวางระบบแล้ว ปัญหาเรื่อง PID ก็ยังมีตัวแปรสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ความร้อน ความชื้น ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวเร่งปฏิกริยาที่ทำให้เกิดปัญหา PID อีกด้วย

ปัญหา PID นั้นย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าแน่นอน ถ้าระบบ โซล่ารูฟ ที่ใช้อินเวอร์เตอร์แบบมีหม้อแปลง จะนิยมต่อกราวด์ที่ขั้วลบ แต่ถ้าเป็นอินเวอร์เตอร์แบบไม่มีหม้อแปลงก็ไม่ต้องทำไร เพราะเทคโนโลยี โซล่าเซลล์ ปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ใช้วัสดุที่ลดปัญหา PID อย่างที่บอกไว้แล้ว ส่วนใครที่มีปัญหา PID เพราะเป็นแผงรุ่นเก่าๆ อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยกระตุ้นแผง เพื่อช่วยกระตุ้นแบตเตอรี่ไล่โซเดียมออกมา

CR.Eduardo Lorenzo, Energy Collected and Delivered by PV Modules,” Handbook of photovoltaic science and engineering, Chapter 20, John Wiley & Sons, 2003

รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร

https://www.enrichenergy.co.th/โซล่ารูฟท็อป/

https://www.enrichenergy.co.th/โซล่าเซลล์/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์

  โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ ศูนย์รวม โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ จากแบรนด์ RICH   รับประกันสินค้า 1 ปี ความรู้ในการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ให้มีประสิทธิภาพ 1.ควรติดตั้งแผงโซล่าหันไปทางทิศใต้ โดยเอียงแผง 8-10 องศา เพื่อรับแสงแดดได้เต็มที่ ลูกค้าสามารถเข้าไปอ่านความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ แผงโซล่าเซลล์ ควรหันไปทางทิศใด 2.ควรติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในพื้นที่โล่ง กว้าง ที่ไม่มีเงาต้นไม้ หรือเงาอาคารบังโดยเด็ดขาด เพราะความสว่างและประสิทธิภาพของตัว โคมโซล่าเซลล์ แปรผันตรงตามแสงแดดที่ได้รับในแต่ละวัน โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ แบบที่มีระบบแบตเตอรี่แยก มีสปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ ระยะหลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ราคาสินค้าที่ลดลง ทำให้สามารถซื้อใช้งานในบ้านเรือนได้ ประสิทธิภาพของสินค้าเริ่มเสถียรขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสะดวกสบายในการเลือกใช้งาน ปัจจุบันเกรดสินค้าที่ใช้งานในตลาดแบ่งหลักๆ เป็น 2 ชนิด คือ 1. แบบ แผงโซล่าเซลล์ เล็ก แบตเตอรี่เป็นถ่านชาร์ต จุไฟน้อย กับ 2. แบบแผงโซล่าเซลล์ใหญ่ ใช้แบตเตอรี่เป็นลูก ชนิดเดียวกั...

แอปพลิเคชั่น นำทาง Waze แอปดี แต่คนไทยไม่ค่อยใช้

   แอปพลิเคชั่น นำทาง Waze แอปดี แต่คนไทยไม่ค่อยใช้ หลายๆคน เวลาจะเดินทางไปไหนต่อไหน ก็คงรู้จักแต่ Google Maps แต่นี่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดหรือไม่ แอปพลิเคชั่น การนำทางอื่นๆ ยังมีให้เลือกอีกเยอะนะครับ เช่น Waze เป็นแอปที่เน้นชุมชนมากกว่าและมีผู้ใช้มากกว่า 140 ล้านคนนับตั้งแต่เปิดตัว ผู้ใช้ทำหน้าที่เป็นตาและหูบนท้องถนนเพื่อให้สถานการณ์การจราจรในปัจจุบัน มีตัวเลือกมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนในการใช้เส้นทางที่ผิดและรถติด ซึ่งแอปนี้จะช่วยให้คุณประหยัดน้ำมัน นี่คือทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ Waze และเหตุใดคุณจึงควรพิจารณาใช้ Waze เดี๋ยวจะพาไปดูกันว่า Waze ดียังไง Waze เป็นแอปพลิเคชั่นการนำทางแบบโต้ตอบฟรีสำหรับทั้ง Android และ iOS ใช้ข้อมูลที่มาจากชุมชนเพื่อส่งรายงานการเข้าชมแบบเรียลไทม์แก่ผู้ใช้ ซึ่งมีประโยชย์มาก ถ้าคนไทยประเทศไทย ร่วมกันใช้จะทำให้แอปพลิเคชั่น มีความเสถียรมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศมาเลเซีย และ สิงคโปร์ ประชากรของเขาใช้ Waze กันแทบจะ 90% เมื่อเทียบกับ Google Map ขนาด Grab ยังผูกกับ Waze ข้ามไปยังส่วนสำคัญ Waze คืออะไรและทำงานอย่างไร Waze เปิดตัวครั้งแรกในปี 255...

หมู่บ้าน โซล่าเซลล์ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย Powerwalls by Tesla

   หมู่บ้าน โซล่าเซลล์ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย Powerwalls by Tesla หมู่บ้านเทสลา แห่งใหม่ได้เปิดตัวในลาสเวกัสพร้อมกับ Tesla Powerwalls และพลังงานแสงอาทิตย์จาก  โซล่ารูฟท็อป  ในบ้านทุกหลัง Tesla ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้มีจำนวนบ้านอยู่ที่ ราวๆ 12,000 หลังคาเรือน (Tesla Neighborhood)เป็นคำที่ใช้เรียกชุมชนที่บ้านทุกหลังในย่านนั้นใช้พลังงานจากธรรมชาติ หรือพลังงานจากอุปกรณ์เทสลา โดยมีชุดแบตเตอรี่ Powerwalls ในการช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้งานภายในครัวเรือน โครงการหมู่บ้านเทสลาที่ได้รับการพูดถึงและถูกหยิบยกเป็นตัวอย่าง คือ โครงการพัฒนาขนาดยักษ์แห่งใหม่ในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท บรูคฟิลด์ แอสเซท แมนเนสเมน (Brookfield Asset Management) และ Dacra ซึ่งมีการสร้างบ้านใหม่ถึง 12,000 หลัง โดยได้มีติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Tesla Powerwall เพื่อนำไปใช้งานในครัวเรือน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือโครงการพัฒนาขนาดยักษ์แห่งใหม่ในออสติน รัฐเท็กซัส โดยบริษัท Brookfield Asset Management และ Dacra ซึ่งมีการสร้างบ้านใหม่มากถึง 12,000 หลั...